อธิการบดีย้ำ “ชาวมหาจุฬาต้องไม่ลืมรากเหง้าของตน”

๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔ คณาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร ร่วมงานวันบุรพาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผ่านออนไลน์โปรแกรม Zoom โดยกล่าวรายงานในการจัดงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มจร ว่าสำคัญว่าเพื่อเป็นระลึกถึงบูรพาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในการทุ่มเทเสียเสียสละเพื่อการศึกษาของมหาจุฬา เป็นการให้บุคลากรของ มจร รวมถึงศิษย์เก่าศิษย์ปัจจุบันได้ตระหนักในคุณงามความดีของบุรพาจารย์ เป็นการระลึกผู้มีคุณูปการต่อมจร คือ ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ นับว่าเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบุรพาจารย์ทุกรูปท่านตั้งอดีตจนปัจจุบัน
พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประธานในพิธีกล่าวเปิดงานบุรพาจารย์ กล่าวความสำคัญว่า แม้ปัจจุบันจะเป็นความยากลำบากในการดำเนินชีวิตแต่ชาวมหาจุฬายังมาร่วมกันผ่านออนไลน์นับว่าเป็นพลังของชาวมหาจุฬา ภายใต้คำว่า “เรียนรู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคตกับการขับเคลื่อน มจร” โดยเน้นว่าชาติที่เจริญต้องไม่ลืมรากเหง้าของตนเอง นอกจากไม่ลืมแล้วยังนำรากเหง้าของตนเองมาสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาตินั้นๆ ซึ่งในสิงคโปร์ใช้คำว่า Hear the past See the present touch the Future จึงต้องยึดศึกษาในรูปแบบแห่งความสำเร็จ ความล้มเหลว รวมถึงความกตัญญูต่อสถาบัน จะต้องไม่ลืมอดีตที่ตนเองผ่านมา ใช้รากฐานในอดีต ประเทศไทยจะต้องยึดเกษตรกรรมและเทคโนโลยีควบคู่ไปด้วยกันจึงจะรอดพ้น มหาจุฬาจึงนึกถึงล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ที่ทรงสถาปนามหาจุฬาเพื่อศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง ต่อมาพระพิมลธรรมซึ่งเป็นพระมหาเถระที่มีคุณูปการต่อมหาจุฬาอย่างยิ่ง
จึงทำให้ถึงคำว่า “มหาจุฬางามสง่าสดชื่นกลางทะเลแห่งคลื่นลม” เป็นหนังสือของสมเด็จพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) หมายถึง การจัดการบริหารมหาจุฬาในอดีตที่มีความยากลำบาก ปัญหาอุปสรรคแต่สามารถดำเนินการไปได้อย่างงามสง่าสดชื่น คำว่า ทะเลแห่งคลื่นลม มองถึงวัฒนธรรมของตะวันตก จึงต้องมีความรู้ศาสตร์สมัยใหม่ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ซึ่งควรมีการบูรณาการเพื่อสอดรับการสังคมปัจจุบัน รวมถึงนโยบายของบ้านเมืองที่เป็นการบริหารบ้านเมืองไม่เป็นปกติถือว่าเป็นคลื่นลม และคณะท่าทีของคณะสงฆ์ที่มีต่อมหาจุฬา ถือว่ามีความกดดันสูงมาก แต่ปัจจุบันท่าทีของคณะสงฆ์ต่อมหาจุฬาได้สร้างความเข้าใจอย่างดียิ่งในบทบาทหน้าที่ของมหาจุฬา ส่วนคำว่า มหาจุฬางามสง่าสดชื่น มีความอดทนแม้ภาครัฐยังไม่ยอมรับในกฎหมายบ้านเมืองแต่ต่อมามหาจุฬาได้รับการยอมรับของบ้านเมือง มีพระมหาเถระที่ให้การสนับสนุน มหาเถรสมาคมยอมรับว่าเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ ปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปี ๒๔๙๐-๒๕๖๔ จำนวน ๗๗,๐๐๐ รูปคน รวม ๗๔ ปี โดยเริ่มจากคณะพุทธศาสตร์ มหาจุฬาจึงเป็นเสาร์หลักของพระพุทธศาสนาและสังคมไทยสังคมโลก ขอให้ชาวมหาจุฬาช่วยและให้ความร่วมมือกับภาครัฐอย่างเต็มที่เพื่อให้เราผ่านพ้นภาวะของโรคในสถานการณ์ปัจจุบัน จึงฝากให้พวกเราจัดหลักสูตรวุฒิบัตรและประกาศนียบัตรเพื่อตอบโจทย์คนในสังคมที่มีความทุกข์ในสถานการณ์อันไม่ปกติ จากนั้นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อิทธิพล แก้วพิลา นายกสมาคมศิษย์เก่า มจร ท่านที่ ๑๕ ได้ประกาศรายชื่อศิษย์เกียรติคุณและศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี ๒๕๖๔ จึงชื่อแสดงมุทิตาจิตกับทุกรูปท่านในโอกาสนี้
ดังนั้น ท่านอธิการบดีมหาจุฬาจึงเน้นย้ำถึงชาวมหาจุฬาต้องไม่ลืมรากเหง้าของตนต้องนึกถึงบุคคลผู้มีคุณูปการต่อมหาจุฬา ซึ่งมหาจุฬางามสง่าสดชื่นท่ามกลางทะเลแห่งคลื่นลม ในโอกาสวันบุรพาจารย์ของมหาจุฬาสถาบันการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาชั้นนำ
#ขอขอบคุณข่าวสารจากสาราณียธรรม
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร.
อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร
เลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร
#facebook กองสื่อสารองค์
๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔
Close